อนาคตของรถยนต์ไฟฟ้าจะไปได้ไกลกว่ารถยนต์ธรรมดา
Building an efficient charging network
Building an efficient charging network
ในส่วนหน้างานโลจิสติกส์ ทาง DHL Express Singapore จะติดตั้งจุดชาร์จ 105 จุดในศูนย์บริการทั่วประเทศเพื่อให้บริการแก่รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ของบริษัท จุดชาร์จอัจฉริยะประจำศูนย์บริการจะเปิดให้บริการทุกวันพร้อมด้วยฟังก์ชันพิเศษ เช่น ระบบตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้มีการยึดจุดชาร์จไว้ใช้งานเฉพาะคันนานเกินไป (anti-EV-hogging monitoring system) และระบบจดจำรุ่นหรือป้ายทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้กระบวนการชาร์จเป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด
องค์การระหว่างประเทศ
การเปลี่ยนจากรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine Vehicles หรือ ICEV) ไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) คือวิธีที่สำคัญเป็นพิเศษในการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังไม่มีการใช้งานที่ทั่วถึงอย่างเป็นสากลในปัจจุบัน การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามาพร้อมภาระราคาแพง ระบบไฟฟ้าของเมืองก็อาจจำเป็นต้องอัปเกรดเพื่อให้เครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามีกำลังมากขึ้นและเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เมืองต่าง ๆ ในเขตชนบทก็ต้องมีการพัฒนาถนนและระบบขนส่งสาธารณะให้ดีก่อนที่จะพิจารณาเรื่องของการพัฒนาไฟฟ้า
ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้องค์การระหว่างประเทศเข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ จะดำเนินไปช้ากว่าที่อื่น ยกตัวอย่างเช่น ประเทศกัมพูชาที่ได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program) ในการสร้างสถานีชาร์จแห่งแรกของประเทศที่กระทรวงโยธาธิการและคมนาคม
สถานีชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะแห่งที่สองของกัมพูชาเพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงคาลเท็กซ์ในเดือนเมษายน ปี 2022
สถาพการจราจรที่เลวร้ายและโครงสร้างพื้นฐานที่ำไม่แข็งแรง คือสาเหตุที่ทำให้ประเทศนี้ถูกทิ้งไว้ข้างหลังตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของการเริ่มใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า 47 คันที่แจ้งจดทะเบียนในช่วงสามเดือนแรกของปี 2022 นับเป็นเพียงการเริ่มต้นเมื่อเทียบกับจำนวนของรถยนต์จดทะเบียน 920,000 คันและรถจักรยานยนต์ 5.2 ล้านคันที่วิ่งอยู่บนถนนในประเทศนี้
ด้วยความช่วยเหลือจาก UN ทำให้กัมพูชาสามารถประกาศเปิดสถานีชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะแห่งแรกในพนมเปญได้เมื่อเร็ว ๆ นี้ พร้อมแผนผลักดันให้มีสถานีชาร์จสาธารณะอีกจำนวนหนึ่งในอนาคต แม้จะยังต้องรอดูกันต่อไปว่ากัมพูชาจะสามารถรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้นใหม่นี้เอาไว้ได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยการสนับสนุนทางการเงินจาก UN ก็ทำให้ปัจจุบันนี้กัมพูชาสามารถดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จในประเทศได้แล้ว
ความกังวลต่อระยะการขับและจำนวนครั้งในการชาร์จแบบช้า
เมื่อมีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น การพึ่งพาวิธีการชาร์จสาธารณะแบบต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับประเทศอื่น ๆ ที่กำลังเดินหน้าขยายการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจำเป็นต้องเริ่มจัดเตรียมทางเลือกในการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าให้หลากหลาย
แต่นอกจากสถานีชาร์จที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจัยอื่นอย่างเช่น จำนวนครั้งในการชาร์จแบบช้า แบตเตอรี่ที่มีสมรรถนะแย่ในสภาพอากาศหนาวเย็น และระยะการขับรถยนต์ไฟฟ้าที่สั้นลง ล้วนเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า
เมื่อเทียบกับการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เวลา 5 นาที เครื่องชาร์จที่เร็วที่สุดในโลกต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาทีจึงจะเพิ่มระยะการขับ 320 กิโลเมตรให้กับรถยนต์ไฟฟ้าได้ ปัญหานี้ยิ่งพบเห็นได้มากขึ้นในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นซึ่งอาจทำให้สมรรถนะของแบตเตอรี่และระยะการขับของรถยนต์ไฟฟ้าลดลงถึง 20%
ระยะการขับของรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ซึ่งโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 250 กม. ต่อการชาร์จหนึ่งครั้งนั้นเพียงพอสำหรับประเทศเล็ก ๆ แต่กับประเทศใหญ่ที่มีเส้นทางสัญจรยาวกว่าและระยะห่างระหว่างจุดชาร์จแต่ละจุดไกลกว่าย่อมไม่สามารถใช้ได้ เมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นพร้อมทั้งมีการจราจรแออัดจะเกิดความกังวลในเรื่องนี้ ในกรุงเทพฯ ซึ่งผู้คนใช้เวลาเดินทางมากกว่า 90 ชั่วโมงต่อปีท่ามกลางสภาพการจราจรติดขัด ผู้บริโภคต่างกลัวว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะมีกำลังไฟไม่มากพอที่จะพาพวกเขาไปจนถึงจุดหมาย
ผู้ซื้อชาวไทยอย่างน้อย 50% ต่างคิดว่า จำเป็นต้องมีสถานีชาร์จอย่างน้อย 80% เมื่อเทียบกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จึงจะทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า
เพื่อแก้ปัญหาความกังวลต่อระยะการขับ รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจให้แผนระยะแรกสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะ ในเดือนมิถุนายน ปี 2022 รัฐบาลไทยประมาณว่า มีการติดตั้งเครื่องชาร์จสาธารณะแบบเร็วไปแล้วประมาณ 900 เครื่องทั่วประเทศ พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าจะมีเครื่องชาร์จเพิ่มขึ้นเป็น 4,400 เครื่องภายในปี 2025 และ 36,500 เครื่องภายในปี 2035
การเอาชนะปัญหาเหล่านี้จะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากการเชื่อมต่อและระยะสัญจรของผู้คนคือปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค ดังนั้น จึงจำเป็นต้องติดตั้งสถานีชาร์จสาธารณะไว้ตามจุดต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและระยะห่างที่สามารถรองรับการชาร์จได้อย่างเพียงพอ
การบำรุงรักษาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในระยะยาว
การเพิ่มขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้าก่อให้เกิดคำถามว่า ประเทศต่าง ๆ ควรมีแผนการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านรถยนต์ไฟฟ้าของตนในระยะยาวอย่างไรบ้าง โดยในกรณีนี้จะรวมถึงความจำเป็นด้านการให้บริการต่าง ๆ ของรถยนต์และโครงสร้างพื้นฐานด้านการเติมพลังงานเชื้อเพลิงที่เกี่ยวข้องด้วย
อย่างไรก็ดี การบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้ายังคงเป็นสายอาชีพเฉพาะที่มีการเติบโตช้ามากจนไม่สอดคล้องกับความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และปัจจุบันมีรัฐบาลเพียงไม่กี่ประเทศที่ผลักดันมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านนี้
สิงคโปร์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่เริ่มทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ อย่างจริงจังเพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานที่มีทักษะด้านการบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ประเทศนี้ยังได้ประกาศว่าหน่วยงานขนส่งทางบก (Land Transport Authority หรือ LTA) ของสิงคโปร์จะทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อฝึกอบรมและออกใบรับรองให้แก่ช่างยนต์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการให้บริการและการบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนช่างสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
เมื่อประเทศต่าง ๆ เริ่มมีความคืบหน้าในเรื่องของระบบขนส่งที่ใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น รัฐบาลก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงปัญหาต่าง ๆ ในเชิงยุทธศาสตร์เอาไว้ล่วงหน้า และทำให้มั่นใจว่ากระบวนการทำงานที่สม่ำเสมอต่อเนื่องของมืออาชีพที่มีคุณวุฒิ คือขั้นตอนสำคัญที่รองรับการเปลี่ยนผ่านนี้
ระยะสุดท้ายของการมุ่งสู่เป้าหมายว่าด้วยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
ในการเปลี่ยนไปเป็นการขนส่งที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ยังต้องมีอะไรเกิดขึ้นอีกมากมาย แต่มีสัญญาณบางอย่างที่บ่งบอกให้ทราบว่า รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนแล้ว
“ในการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้น ทาง DHL Express Singapore ได้ตั้งเป้าที่จะกำจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมทั้งสิ้น 323 ตันต่อปี และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเราเท่านั้น” คุณคริสโตเฟอร์ อง กรรมการผู้จัดการของ DHL Express Singapore กล่าว
ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดการประหยัดในแง่ของขนาด (Economies of Scale) ยังทำให้ราคาของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) เริ่มเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันอีกด้วย นี่เป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับประเทศยากจนและประเทศกำลังพัฒนา ที่จะได้มีรถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่ถูกลงมาก
แต่ประเทศต่าง ๆ จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศด้วยการมีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่แข็งแกร่งและมั่นคงก่อนเป็นอย่างแรก นอกเหนือจากการเข้าไปมีส่วนร่วมกับรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ประเทศต่าง ๆ ควรมีการวางแผนล่วงหน้าสำหรับอนาคตเพื่อสร้างและบำรุงรักษาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน
คุ้มค่าที่จะอ่านเช่นกัน