การปิดโรงงานช่วงเทศกาลตรุษจีนและวิกฤติทะเลแดงเพิ่มอัตราการขนส่งสินค้าทางอากาศ
ความหลากหลายของสินค้าและปริมาณที่เพิ่มขึ้นทำให้แนวโน้มตลาดการขนส่งสินค้าทางอากาศพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ของปี 2567 โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าเทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซทางเรือ, โรงงานที่ทยอยปิดในช่วงตรุษจีน และวิกฤตทางทะเลแดงที่กำลังเกิดขึ้นไปยังคลองสุเอซ รวมถึงผลพวงจากศูนย์กลางการส่งออกที่สำคัญในเอเชียตั้งแต่เดือนธันวาคม
ตามที่มีการโจมตีการขนส่งโดยกองกำลังติดอาวุธฮูตีในเยเมนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา โดยดรูว์รี (Drewry) ได้รายงานว่าการคมนาคมของตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลกกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทางจากคลองสุเอซอ้อมไปทางแหลมกู๊ดโฮป
การเดินเรือจากทางเอเชียต้องใช้เวลานานขึ้น 2 ถึง 3 สัปดาห์เพื่อไปยังจุดปลายทางในเมดิเตอร์เรเนียนสำหรับการจัดส่งจากเอเซีย และมีความล่าช้าเล็กน้อยในการเดินเรือไปยังยุโรปเหนือและฝั่งทะเลตะวันออกของสหรัฐอเมริกา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดการหยุดชะงักอย่างรุนแรงต่อโครงข่ายการเดินเรือและความพร้อมของอุปกรณ์ ประสิทธิภาพการรองรับไม่เพียงพอต่อจำนวนเรือทั่วโลก พวกเขายังได้ปิดช่องว่างระหว่างอุปสงค์-อุปทาน เพื่อการป้องกันผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจากการรองรับที่มากเกินไป
ทำให้อัตราค่าระวางเรือทางทะเลพุ่งสูงขึ้น ไม่ใช่แค่ตลาดเอเชีย-ยุโรปเท่านั้น อัตราค่าระวางที่เพิ่มขึ้น
อย่างมากจากเอเชียไปยังชายฝั่งตะวันตกและชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา อัตราการขนส่งกลับยังเพิ่มขึ้นเนื่องจากไลน์ตู้คอนเทนเนอร์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมเพื่อครอบคลุมต้นทุนในการอ้อม
การขนส่งที่นานขึ้น ค่าขนส่งราคาสูงขึ้น และความจำเป็นต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเพื่อรับประกันช่องและกล่องได้ผลักดันการส่งออกในเอเชียบางส่วนไปสู่ทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ทางเรือ และทางอากาศที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
“การหยุดชะงักของเส้นทางเดินทะเลในทะเลแดงเมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้ผู้ขนส่งบางรายหันไปขนส่งสินค้าทางอากาศ” วิลลี วอลช์ ผู้อำนวยการสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศกล่าว “ความต้องการที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ผลตอบแทนการขนส่งสินค้าทางอากาศพุ่งสูงขึ้นในช่องทางการค้าที่เกี่ยวข้อง”
แม้ว่าสินค้าบางชนิดอาจไม่เหมาะสำหรับการขนส่งทางอากาศ แต่ก็เป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับการขนส่งที่เร่งด่วนที่สุดในสถานการณ์พิเศษ และดังที่ Walsh กล่าวไว้ว่า สิ่งหนึ่งที่ “มีความสำคัญต่อความต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก”
อิทธิพลเทศกาลตรุษจีน
การปิดโรงงานในจีนในช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีนที่จะเริ่มอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ได้ส่งผลให้ผู้ส่งสินค้าบางรายเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ
นิกิ แฟรงค์ (Niki Frank) ซีอีโอของ ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชีย แปซิฟิค (DHL Global Forwarding Asia Pacific) ได้อธิบายว่าจุดพีค
สูงสุด (traditional peak) ก่อนช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นชนวนที่ส่งผลในปีนี้ เวลาเดินเรือที่ยาวนานขึ้น, ค่าขนส่งทางทะเลที่สูงขึ้น, และปัญหาการขาดแคลนเรือเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในทะเลแดง นี่ทำให้ลูกค้าบางรายเปลี่ยนไปใช้การขนส่งสินค้าทางอากาศ
"เนื่องจากการขนส่งใช้เวลานานขึ้น ลูกค้าบางรายจึงส่งสินค้าจำนวนมากขึ้นล่วงหน้า ดังนั้นเราจึงบริการลูกค้าจำนวนมากด้วยตัวเลือกบริการการขนส่งหลายรูปแบบ ที่รวมถึงการขนส่งทางอากาศ เพื่อเคลียร์สินค้าคงคลังของพวกเขาได้ทันเวลา" แฟรงค์กล่าว
รายงานสถานะการขนส่งทางอากาศประจำเดือนมกราคมของ DHL ฉบับเดือนมกราคม ระบุด้วยว่าความต้องการทาทางเทคโนโลยี การค้าปลีก และผู้บริโภคยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามในเดือนมกราคม ทำให้เกิดการจำกัดการรองรับเรือขาออกจากเอเชียไปยังสหรัฐอเมริกา โดยเสริมว่า "คาดว่าข้อจำกัดด้านการรองรับจากเอเชียแปซิฟิกจะมีผลถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ท่ามกลางความต้องการอีคอมเมิร์ซที่ค่อนข้างสูง”
เซเนตา (Xeneta) ได้สำรวจพบว่าปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศจากจีนและเวียดนามไปยังยุโรปเป็นเวลาสามสัปดาห์ติดต่อกันในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นเป็น 'พิเศษ' ซึ่งสูงกว่าช่วงพีคในปี 2566 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการนี้ ทางการตลาดได้ปรับอัตราอัตราค่าระวางแบบซื้อขายทันที (spot rates) ทางอากาศเพิ่มขึ้นด้วย
ข้อมูลล่าสุดที่สนับสนุนแนวโน้มเหล่านี้ สมาคมสายการบินเอเชียแปซิฟิก (AAPA) กล่าวว่าความต้องการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศมีการเติบโต 13.2 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนธันวาคมซึ่งนำโดยการขนส่งสินค้าอีคอมเมิร์ซ
“แม้ว่าความต้องการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศตลอดทั้งปีลดลง 2.8 เปอร์เซ็นต์ แต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า” สุภาษ เมนอน (Subhas Menon) ผู้อำนวยการทั่วไปของ AAPA กล่าว
สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ได้รายงานว่าอุปสงค์ทั่วโลกในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 10.8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการเติบโตประจำปีที่มากที่สุดในช่วงสองปีที่ผ่านมา
การเริ่มต้นที่ดีในปี 2567
ตัวเลขเพิ่มขึ้นในเชิงบวกอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2567 เซเนตา (Xeneta) วิเคราะห์ตลาดและพบว่าปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์เทียบกับเดือนมกราคมในปีที่ผ่านมา สาเหตุมาจากการที่ผู้ส่งสินค้ามีความกังวลในสงครามน่านน้ำทะเลแดงและช่วงตรุษจีนมากกว่าการคาดการณ์ว่าปริมาณอีคอมเมิร์ซจะลดลงหลังคริสต์มาส
และยังมีข้อมูลรองรับจาก Niall van de Wouw ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายขนส่งทางอากาศของเซเนตา (Xeneta) ที่พูดถึงสัญญาณที่ดีในเดือนมกราคมว่า
มุมมองด้านปริมาณไม่ได้เปลี่ยนพื้นฐานของตลาดการขนส่งสินค้าทางอากาศ
ปริมาณไม่ได้เปลี่ยนพื้นฐานของตลาดการขนส่งสินค้าทางอากาศ
“นี่ไม่ได้หมายถึงว่าผู้บริโภคซื้อสินค้ามากขึ้น แต่มีแนวโน้มว่าจะมีการหยุดชะงักในน่านน้ำทะเลแดง รวมไปถึงเทศกาลตรุษจีนที่กำลังจะมาถึง และตัวชี้วัดบางประการที่แสดงถึงว่าตลาดขนส่งสินค้าทั่วไปมีงานมากกว่าที่คาดไว้” van de Wouw กล่าว “เราไม่เห็นว่ามันมีการสะท้อนอยู่ในอัตราราคา แต่นั่นก็เป็นเรื่องปกติในเดือนมกราคมเพราะไม่ได้มีแรงกดดันเดียวกันต่อการรองรับ”
เขาได้เสริมว่าห่วงโซ่อุปทานหลายแห่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในน่านน้ำทะเลแดง และมีโอกาสทำให้ผู้ส่งสินค้าบางรายหันไปใช้การขนส่งสินค้าทางอากาศแบบทันทีทันใด (knee-jerk reaction) ดังนั้นปริมาณสินค้าก็จะเพิ่มขึ้นต่อไปภายใต้กำลังรองรับเดิม
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าความคิดเห็นส่วนใหญ่จะไม่ส่งผลเชิงบวกในระยะยาวต่อการขนส่งทางอากาศ
“เมื่อความกังวลใจและความไม่แน่นอนข้างต้นลดลง เสถียรภาพการขนส่งทางทะเลก็จะกลับมาอีกครั้งเมื่อผู้ขนส่งยอมรับว่าการขนส่งจะใช้เวลานานกว่าแค่สองสัปดาห์ เป็นสาเหตุให้ความต้องการในการขนส่งสินค้าทางอากาศน้อยลง” van De Wouw กล่าว
ขณะเดียวกันแฟรงก์ก็ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การดำเนินการจะกลับสู่ปกติเมื่อสายการบินต่าง ๆ มีการปรับตัวกับสถานการณ์ในทะเลแดง
“โดยรวมแล้ว เราไม่เห็นสัญญาณของอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่มีข้อบ่งชี้อย่างกระทันหันจากเทศกาลตรุษจีนในเดือนมกราคม ดังนั้นมีแนวโน้มว่าเมื่อผู้จัดส่งทำการจัดส่งสินค้าคงค้างแล้ว ความต้องการในการขนส่งทางอากาศและความสามารถการจุสินค้าจะสมดุลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า” แฟรงค์ (Frank) กล่าว
เพดานราคาอุปทาน
สถานะการขนส่งทางอากาศประจำเดือนมกราคมของ DHL ระบุว่า การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเครื่องบินโดยสารมีส่วนช่วยให้มีพื้นที่ขนส่งสินค้าทางอากาศทั่วโลกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 มากขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับของเดือนมกราคม พ.ศ. 2566
บรูซ ชาน (Bruce Chan) ผู้อำนวยการและนักวิเคราะห์การวิจัยอาวุโสด้านโลจิสติกส์ระดับโลกและการขับเคลื่อนอนาคตที่สติเฟล (Stifel) เชื่อว่าในส่วนของอุปทานที่อยู่ในสมการการขนส่งสินค้าทางอากาศจะเป็นตัวกำหนดอัตราการเพิ่มขึ้นในปีนี้ แม้ว่าค่าดัชนีการขนส่งทางอากาศบอลติค (Baltic Air Freight Index) ขึ้นไปถึง 6.4 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์ถึงวันที่ 29 มกราคม แต่ว่ามีการลดลง 24.2 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ชาน (Chan) กล่าวถึงหลักโครงสร้างที่ความจุการรองรับยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มอัตราค่าขนส่งทางอากาศเนื่องจากยังคงกลับมาใช้งานพื้นที่
บริเวณหน้าห้องของผู้โดยสารอย่างต่อเนื่อง“เนื่องจากเดือนธันวาคม 2566 กำลังการผลิตทั่วโลกของ IATA เพิ่มขึ้น 13.6 เปอร์เซ็นต์ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 31 เปอร์เซ็นต์ที่ความต้องการที่เพิ่มขึ้น 19 เปอร์เซ็นต์” เขากล่าวพร้อมเสริมว่าในปีนี้จะยังคงมีการขยายตัวพื้นที่ใต้ห้องต่อไป
“ช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ พื้นฐานการประมาณการของเราคือจะมีอุปสงค์ที่โตขึ้น แต่จะค่อย ๆ โต ซึ่งจะทำให้อัตราถดถอยที่เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาน้อยลงแต่มีความล่าช้านะ (lag)” ชาน (Chan) กล่าว
“ในระหว่างนี้ที่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกมีการหยุดชะงักเนื่องจากทางภูมิรัฐศาสตร์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ อาจผลักดันกระบวนการให้เร็วขึ้น เมื่อพิจารณาจากสิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันจะเห็นว่าการกลับมาเติบโตประจำปีของอัตราการขนส่งสินค้าทางอากาศอาจไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงปี 2568”