Your default browser language is set to . Browse this site in another language: Continue color Created with Sketch.

Reports and Whitepaper

Read logistics-related industry reports, & sector-specific important-export guides here.

View all resources
  • Get a sales representative to contact me
  • I agree to the  Terms and Privacy Notice
คุ้มค่าที่จะอ่านเช่นกัน

ทำไมกลยุทธ์ China Plus X จึงสำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของห่วงโซ่อุปทาน

ในขณะที่ความผันผวนยังคงปรับโฉมของห่วงโซ่อุปทานโลก บริษัทต่างๆ เริ่มหันมากระจายสถานที่ผลิตตามกลยุทธ์ China Plus X กันเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง
ในขณะที่ความผันผวนยังคงปรับโฉมของห่วงโซ่อุปทานโลก บริษัทต่างๆ เริ่มหันมากระจายสถานที่ผลิตตามกลยุทธ์ China Plus X กันเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง
28 กุมภาพันธ์ 2025 •

สถานการณ์ห่วงโซ่อุปทานโลกในปัจจุบันมีความไม่แน่นอนสูง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรง และปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่นโจรสลัดและสภาพอากาศสุดขั้ว ซึ่งทำให้ต้นทุนห่วงโซ่อุปทานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและสร้างความไม่มั่นคง

นี่ไม่ใช่ข่าวใหม่สำหรับผลิตในเอเชียแปซิฟิก (APAC) มีหลายรายที่ได้ดำเนินกลยุทธ์ China Plus One ที่กระจายการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ นอกจากจีน เพื่อลดความเสี่ยงของเหตุการณ์ที่มิอาจคาดเดาได้ ตัวอย่างของเหตุการณ์เช่นนี้คือการระบาดของ Covid-19 ที่ทำให้เกิดการล็อกดาวน์ในจีนที่ยาวนานที่สามปี เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 นี่จึงทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของจีนลดลงจาก 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาส 1 ปี 2022 เหลือเพียง 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีต่อมา

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ China Plus One แสดงให้เห็นว่าไม่เพียงพอที่จะปกป้ององค์กรจากปัญหาใหม่ๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงภาษีศุลกากรที่ได้ถูกบังคับใช้ในรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ ในการตอบสนอง หลายบริษัทจึงเริ่มใช้กลยุทธ์ China Plus X ใเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานโดยการกระจายการผลิตไปยังหลายประเทศนอกเหนือจากจีน

ตามที่ได้กล่าวไว้ในเอกสารไวท์เปเปอร์ฉบับใหม่ของ DHL, CChina Plus X: ห่วงโซ่อุปทานใหม่ของโลก, กระบวนการอันรอบคอบและถี่ถ้วนในการระบุสถานที่การผลิตที่เหมาะสมนั้นเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์นี้ กระบวนการนี้ควรเน้นไปที่ปัจจัยสำคัญห้าประการคือ การขนส่ง ต้นทุน โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ผู้คน และสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบ

สร้างความยืดหยุ่นด้านการขนส่งเพื่อรับมือกับราคาที่ผันผวน

ในขั้นแรก ผู้ผลิตที่กำลังพิจารณากลยุทธ์ China Plus X เพื่อลดความเสี่ยง ควรวิเคราะห์ศักยภาพและต้นทุนการขนส่งทั้งในปัจจุบันและอนาคตของสถานที่ที่อยู่ภายใต้การพิจารณา การเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเส้นทางขนส่งต่างๆ ได้ดีขึ้น เพราะจะมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนและเคลื่อนย้ายฐานการผลิตไปยันสถานที่อื่นเมื่อถึงคราวจำเป็น

การสร้างเสริมความยืดหยุ่นนี้สำคัญอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของเส้นทางการค้าอาจได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดอาจยืดระยะเวลาจัดส่งและส่งผลกระทบต่อรายได้ จากการวิจัยของ Deloitte การขนส่งที่ล่าช้าส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตมากที่สุดในช่วงระยะเวลา 12 ถึง 18 เดือน

ตัวอย่างเช่นการโจมตีของกลุ่มฮูธีในทะเลแดงที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาจัดส่งสินค้ายาวนานขึ้นโดยเฉลี่ย 10 วันสำหรับเรือขนส่งที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากต้องเปลี่ยนเส้นทางจากคลองสุเอซซึ่งเป็นเส้นทางปกติ ไปอ้อมแหลมกู๊ดโฮป

ค่าขนส่งทางเรืออาจผันแปรไปตามอุปสงค์ของผู้บริโภค และความจุเรือที่มีให้บริการซึ่งมีความผันผวน ปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่ปัญหาจราจรแออัดและการปิดท่าเรือ ไปจนถึงเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งล้วนส่งผลให้อัตราค่าขนส่งทางเรือมีความผันผวน จากข้อมูลของ Statista ต้นทุนการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต ซึ่งมีราคาเพียง 1,342 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม 2023 ก่อนจะพุ่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เกือบถึง 5,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม 2024

Having the flexibility to choose between transport modes is essential to keep fluctuating prices in check.
การมีความยืดหยุ่นที่สามารถเลือกใช้วิธีการขนส่งรูปแบบต่างๆ ได้ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมราคาที่แปรปรวน

สำหรับธุรกิจแล้ว เครือข่ายโลจิสติกส์ระดับโลกจากผู้ให้บริการเช่น DHL Global Forwarding ที่สามารถสลับการขนส่งระหว่างทางเรือกับทางอากาศได้อย่างยืดหยุ่น หรือแม้แต่การใช้ทั้งสองรูปแบบร่วมกัน ถือเป็นสิ่งสำคัญในการลดต้นทุนและป้องกันความเสี่ยงจากการความขัดข้องต่างๆ "DHL สนับสนุนธุรกิจต่างๆ ด้วยเครือข่ายระดับโลกที่เหนือชั้นและความเชี่ยวชาญในระดับท้องถิ่น เพื่อก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้อย่างสำเร็จ ด้วยโซลูชันด้านโลจิสติกส์และการขนส่งที่ครอบคลุมของเรา เรามอบเครื่องมือที่จำเป็นแก่ลูกค้าในการปรับใช้กลยุทธ์ China Plus X และเพื่อสร้างความมั่นคงในระยะยาว" Niki Frank ประธานบริหาร DHL Global Forwarding Asia Pacific กล่าว.

การพิจารณาถึงความประหยัดในระยะยาวจากการกระจายการผลิต

ผู้ผลิตที่มุ่งหน้าใช้กลยุทธ์ China Plus X ควรพิจารณาถึงต้นทุนอื่นๆ ที่อาจสะสม เช่นต้นทุนด้านวัตถุดิบ ส่วนประกอบ และความพร้อมของซัพพลายเออร์ นี่จึงอธิบายสาเหตุที่ร้อยละ 43 ของผู้ตอบแบบสำรวจ Deloitte ได้ระบุว่าต้นทุนคือข้อจำกัดหลักในการปรับใช้กลยุทธ์ Plus X

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่สมการง่ายๆ แม้การกระจายฐานการผลิตจะเพิ่มต้นทุนในสเปรดชีต แต่ผู้ที่ดำเนินกลยุทธ์นี้จะสามารถป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่อาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง เช่นความขัดแย้งทางการค้าได้ดีกว่า

ในบริบทดังกล่าว บริษัทที่ใช้กลยุทธ์ China Plus X อาจมีต้นทุนสุทธิที่ต่ำกว่าในระยะยาว เมื่อเทียบกับบริษัทที่มีการกระจายการผลิตน้อยกว่า กลุ่มหลังนี้มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาได้ง่ายกว่า เช่นจากนโยบายภาษีศุลกากรใหม่ๆ เนื่องจากขาดความสามารถในการกระจายทรัพยากรไปยังสถานที่อื่นๆ ได้

ประเมินผลกระทบจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

โครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านดิจิทัลและด้านกายภาพของประเทศนั้นยังเป็นปัจจัยชี้ขาดสำคัญในการพิจารณาความเหมาะสมที่จะเป็นหนึ่งในสถานที่ตั้งภายใต้กลยุทธ์ China Plus X

With this in mind, several Southeast Asian nations are already flagging significant infrastructure upgrades to attract more manufacturers.
ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างก็เร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานกันครั้งใหญ่เพื่อดึงดูดผู้ผลิตมากขึ้น

ตัวอย่างเช่นเอกสารไวท์เปเปอร์ของ DHL ในหัวข้อ China Plus X whitepaper ได้ระบุว่ารัฐบาลเวียดนามเริ่มดำเนินแผนการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งตั้งแต่ปี 2021 ภายในปี 2030 เวียดนามคาดว่าจะพัฒนาระบบเส้นทางคมนาคมทางบก ทางอากาศ ทางทะเล และทางน้ำภายในประเทศให้ดีขึ้น โดยใช้งบประมาณรวมระหว่าง 43 ถึง 63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นต้นมา FDI ในภาคการผลิตและแปรรูปของเวียดนามได้เพิ่มขึ้น 40.2% ปีต่อปี ซึ่งมีมูลค่าเกือบ 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤศจิกายน 2023

การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ทำให้กลยุทธ์ China Plus X มีความเป็นไปได้มากขึ้น โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถลดความเสี่ยงโดยการกระจายสถานที่การผลิต ในขณะที่ยังคงรักษาหรือเพิ่มการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูงและมั่นคง

การใช้ประโยชน์จากโครงการพัฒนาทักษะสำหรับแรงงานรุ่นใหม่

ผู้ผลิตที่นำกลยุทธ์ China Plus X มาใช้เพื่อลดความเสี่ยง อาจได้รับประโยชน์ด้านศักยภาพการผลิตจากประเทศที่มีแรงงานรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะสมัยใหม่ สัดส่วนประชากรจีนที่มีอายุเกิน 60 ปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทศวรรษต่อๆ ไป และจะพุ่งสูงกว่าร้อยละ 40 ของประชากรทั้งประเทศภายในปี 2060

ดังนั้นแสงสปอตไลท์จึงส่งไปที่กลุ่มประเทศ China Plus X ตัวอย่างเช่นประเทศอินเดีย ซึ่งกำลังกลายเป็นสนามฝึกอบรมชั้นเยี่ยมสำหรับการพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อตอบสนองสถานะของประเทศที่กำลังเติบโตในฐานะศูนย์กลางการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก บริษัทเทคโนโลยีอย่าง Lam Research Corporation ได้ประกาศความมุ่งมั่นที่จะฝึกอบรมวิศวกรอินเดียสูงสุดถึง 60,000 คน ในสาขาเทคโนโลยีนาโน เป็นระยะเวลา 10 ปี

โครงการนี้บวกกับการลงทุน 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในภารกิจพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์อินเดีย (ISM) ที่ประกาศโดยกระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และไอทีของอินเดีย ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกำลังแรงงานอินเดีย

การใช้ประโยชน์จากโครงการพัฒนาทักษะสำหรับแรงงานรุ่นใหม่

สุดท้ายนี้ ความสำเร็จของกลยุทธ์ China Plus X ยังจะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านภาษี ภาษีศุลกากร อัตราขาเข้า และข้อตกลงทางการค้าในประเทศที่ตั้งฐานการผลิตใหม่ มาตรการจูงใจทางการเงิน เช่นการยกเว้นภาษีและการลดอัตราภาษีองค์กรในพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง สามารถชดเชยกับข้อเสียของพื้นที่อื่นได้ ซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายโดยรวมสำหรับการดำเนินงานใหม่

ตัวอย่างเช่น เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงสำคัญหลายฉบับเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป-เวียดนาม และความตกลงการคุ้มครองการลงทุนในปี 2019 ความตกลงเหล่านี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยกเลิกภาษีนำเข้าสำหรับ 99% ของสินค้าทั้งหมด ลดอุปสรรคทางกฎระเบียบ และลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ยุ่งยาก รวมถึงเป้าหมายอื่นๆ ภายใต้กลยุทธ์ China Plus X ผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการจูงใจเหล่านี้ และสามารถกระจายความเสี่ยงไปยังสถานที่ตั้งที่หลากหลายมากขึ้น

China Plus X คือกลยุทธ์ระยะยาว

ด้วยกลยุทธ์ China Plus X การสร้างมาตรการสำรองได้กลายเป็นเสาหลักใหม่ของความยืดหยุ่นในห่วงโซ่อุปทาน "อนาคตของห่วงโซ่อุปทานโลกจะต้องอาศัยโครงสร้างที่ยืดหยุ่น ยั่งยืน และมีความหลากหลาย ที่ออกแบบมาเพื่อความมั่นคง” Frank กล่าว

ในขณะที่ผู้ผลิตกระจายฐานการผลิตไปยังประเทศต่างๆ พวกเขาสามารถใช้กระบวนการและสิ่งอำนวยความสะดวกเดิมบางส่วนหรือทั้งหมด แล้วสลับการใช้งานระหว่างสถานที่ตั้งต่างๆ เพื่อลดผลกระทบจากความขัดข้อง ด้วยทางเลือกที่มากขึ้นในการรับมือเหตุการณ์ร้ายแรง องค์กรเหล่านี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงขึ้นในระยะยาว

ความเชี่ยวชาญด้านตลาดและเครือข่ายโลจิสติกส์ที่ครอบคลุมของ DHL สามารถให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แก่ผู้ที่ต้องการนำกลยุทธ์ China Plus X ไปใช้ โดยไม่ทำให้ต้นทุนบานปลาย โดยเฉพาะบริการ Multi-Modal Express (MMEX) ของ DHL Global Forwarding ที่ผสมผสานการขนส่งทางอากาศและทางเรือ สามารถช่วยลดเวลาในการขนส่ง ลดการปล่อยมลพิษ และลดต้นทุนการขนส่งสินค้าที่เดินทางจากจีนและเวียดนามไปยังสหรัฐอเมริกา ยุโรป และลาตินอเมริกา

ในที่สุดแล้ว กลยุทธ์ China Plus X น่าจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ เมื่อผู้ผลิตต่างก็เห็นคู่แข่งได้รับประโยชน์จากการลดความเสี่ยงและความยืดหยุ่นที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม พวกเขาควรเลือกสถานที่ใหม่อย่างรอบคอบ

คุ้มค่าที่จะอ่านเช่นกัน

ข้อมูลเชิงลึก
สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการย้ายฐานการผลิตมาใกล้ๆ (Nearshoring)
ข้อมูลเชิงลึก
ความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทาน 5 อันดับสูงสุดในปี 2024
ข้อมูลเชิงลึก
การหลบเลี่ยงการหยุดชะงัก: ความเสี่ยง 5 ประการในห่วงโซ่อุปทานในปี 2566 ที่คุณต้องรู้
ข้อมูลเชิงลึก
การรับมือกับความซับซ้อนในการขนส่งสินค้าทางทะเลในปี 2025
ข้อมูลเชิงลึก
ห่วงโซ่อุปทานการจัดหาวัสดุทดแทน ในการวิจัยทางคลินิกที่ฟื้นตัวได้เร็ว กำลังขับเคลื่อนการเติบโตด้านเภสัชกรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง