Your default browser language is set to . Browse this site in another language: Continue color Created with Sketch.

รายงานและเอกสารรายงาน

Read logistics-related industry reports, & sector-specific important-export guides here.

ดูแหล่งข้อมูลทั้งหมด

Navigating Latest Tariff Developments

Global trade is growing more complex with new U.S. tariffs and global responses. DHL is here to help you navigate the changes.

Explore our solutions
  • Get a sales representative to contact me
  • I agree to the  Terms and Privacy Notice
คุ้มค่าที่จะอ่านเช่นกัน

ศูนย์ข้อมูลแบบเอดจ์กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนี่ก็คือเหตุผล

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังหันไปใช้งานศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กลงที่ช่วยให้ความคล่องตัวเพื่อรับมือกับเทคโนโลยีกำเนิดใหม่อย่าง AI และ IoT
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังหันไปใช้งานศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กลงที่ช่วยให้ความคล่องตัวเพื่อรับมือกับเทคโนโลยีกำเนิดใหม่อย่าง AI และ IoT
08 กันยายน 2023 •

ในทุก ๆ วัน มีผู้ใช้งานหน้าใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาสู่โลกอินเทอร์เน็ตประมาณวันละ 125,000 ราย ทำให้ภูมิภาคนี้มีการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลเร็วที่สุดในโลก 

แต่ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใช้ที่มีจำนวนประมาณ 460 ล้านรายในปี 2022 กลุ่มนี้ไม่ได้แค่ท่องเว็บเพียงอย่างเดียว แต่ยังใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเล่นเกม ดำเนินการซื้อ-ขายออนไลน์ในปริมาณมหาศาล และทำธุรกิจระหว่างเดินทาง ด้วยเหตุนี้ สภาเศรษฐกิจโลกจึงประเมินว่า ปริมาณการใช้ข้อมูลต่อเดือนจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่า โดยเพิ่มจาก 9.2 GB ต่อคนในปี 2020 เป็น 28.9 GB ต่อคนในปี 2025 

และไม่เพียงแค่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมตั้งแต่ภาคธุรกิจจนถึงภาครัฐทั่วทั้งภูมิภาคนี้ เรากำลังเข้าสู่ยุคเรเนอซองส์หรือยุคเฟื่องฟูของโลกดิจิทัลที่บริษัทมากมายต่างโอบรับการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล AI และการประยุกต์ใช้ “ข้อมูลมหัต” หรือ “Big Data” 

พร้อมกันนี้ อุปสงค์ของข้อมูลก็ได้ผลักดันให้เกิดกระแสการลงทุนในด้านข้อมูลขึ้น บริษัท Kearney ประมาณการณ์ว่า ขีดความสามารถของศูนย์ข้อมูลทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโตขึ้นด้วยอัตราการเติบโตรายปีแบบผสม 19.4 เปอร์เซ็นต์ต่อปีระหว่างปี 2021 ถึง 2026 

และแม้ว่าศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่จะสามารถตอบสนองความจำเป็นด้านข้อมูลในปัจจุบันนี้ได้เป็นส่วนมาก แต่เทคโนโลยีของอนาคตจะต้องการระบบคลาวด์ในรูปแบบที่คล่องตัวมากยิ่งขึ้น หรือที่รู้จักในชื่อ ระบบเอดจ์ 

 

เติบโตขึ้นด้วยการลดขนาดลง 

ศูนย์ข้อมูลแบบเอดจ์นั้นมีรากฐานจากแนวคิดเครือข่าย IT แบบกระจาย ซึ่งข้อมูลจะได้รับการประมวลผลให้ใกล้แหล่งกำเนิดมากที่สุด ศูนย์ข้อมูลเหล่านี้จะสร้างขึ้นใกล้ผู้ใช้ปลายทางหรือที่ “ขอบ” ของเครือข่าย รวมทั้งส่งมอบคอนเทนต์ที่ได้จัดเก็บแคชเอาไว้และความสามารถในการประมวลผลข้อมูลให้กับผู้ใช้ 

เมื่อเปรียบเทียบกับศูนย์ข้อมูลแบบไฮเปอร์สเกล ศูนย์ข้อมูลเอดจ์จะมีขนาดที่เล็กกว่ามาก โดยมีขีดความสามารถอยู่ระหว่าง 500 กิโลวัตต์ถึง 2 เมกะวัตต์ ประโยชน์หลักของศูนย์ข้อมูลเอดจ์คือ การลดเวลาแฝงหรือระยะเวลาที่ผู้ใช้ปลายทางต้องรอก่อนที่ข้อมูลจะได้รับการประมวลผล ศูนย์ข้อมูลเอดจ์นั้นช่วยให้เครือข่ายสามารถส่งมอบผลลัพธ์ได้รวดเร็วขึ้นและตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น 

ความต้องการสำหรับความเร็วหรือเวลาแฝงของการตอบสนองที่ต่ำนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งเมื่อเราเข้าสู่ช่วงยุคสมัยที่เน้นการใช้งานข้อมูล ซึ่งเราจะได้เห็นการใช้งานเเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง (Augmented Reality หรือ AR) การผ่าตัดทางไกล (Telesurgery) และรถยนต์ไร้คนขับ (Self-driving Car) เติบโตมากขึ้น 

ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไร้คนขับนั้นขับเคลื่อนด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาล โดยประมาณการณ์ว่ารถยนต์ขับขี่อัตโนมัตินั้นสามารถสร้างข้อมูลได้มากถึง 5 TB ต่อชั่วโมง 

รถยนต์ไร้คนขับต้องอาศัยเครือข่ายที่มีเวลาแฝงต่ำที่สามารถประกอบรวม วิเคราะห์ และส่งต่อข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ เรื่องนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการให้ความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยของผู้ที่เดินทางในยานพาหนะลักษณะดังกล่าว การตัดสินใจต่าง ๆ เช่น เวลาที่จะชะลอความเร็ว ตำแหน่งที่จะเลี้ยว ความเร็วที่จะเร่งเครื่องนั้นอาจดูเป็นเรื่องเรียบง่าย แต่ล้วนเป็นเรื่องที่ต้องการพลังการคำนวณมหาศาลสำหรับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในการคำนวณ 

เช่นเดียวกัน การผ่าตัดทางไกลหรือความสามารถที่จะผ่าตัดจากต่างสถานที่กันนั้นต้องการการสื่อสารข้อมูลแบบฉับพลันจากศัลยแพทย์ถึงแขนกล ซึ่งเป็นสิ่งที่ศูนย์ข้อมูลแบบเอดจ์สามารถรองรับได้ 

 

 

 

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนพรมแดนความเร็วสูง 

ทวีปอเมริกาเหนือและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นกำลังขับเคลื่อนอุปสงค์ความต้องการศูนย์ข้อมูลแบบเอดจ์ โดยยอดการใช้จ่ายกับศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กเหล่านี้คาดว่าจะเติบโตขึ้น 22.1 เปอร์เซ็นต์ต่อปีตั้งแต่ปี 2023 ถึง 2031 โดยมียอดเพิ่มขึ้นเกินกว่า 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.21 หมื่นล้านยูโร) ภายในสิ้นปี 2031 

แม้ว่าศูนย์ข้อมูลเอดจ์นั้นจะยังคงเป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ความต้องการก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงขึ้นในอีกไม่กี่ปีหลังจากนี้ด้วยเหตุผลหลายประการ 

ประการหนึ่งคือ ภูมิภาคนี้พร้อมแล้วที่จะเริ่มใช้เครือข่าย 5G โดยรายงาน Ericsson Mobility Report คาดว่า 5G จะเป็นเครือข่ายมือถือที่ครอบคลุมและมีอิทธิพลมากที่สุดในภูมิภาคนี้ภายในปี 2028 ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปสู่การผลักดันปริมาณการใช้งานข้อมูลต่อเดือนของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องให้เพิ่มขึ้นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ต่อปีหรือประมาณ 54 GB ในปี 2028 

นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลเอดจ์จะเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จะสนับสนุนแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งหลายประเทศ เช่น ลาว เวียดนาม และมาเลเซียได้ประกาศออกมา 

ขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานสำหรับเมืองอัจฉริยะนั้นอยู่ระหว่างการนำร่องในเวียดนาม โดยมีนครโฮจิมินห์ ฮานอย ดานัง และเกิ่นเทอ ทั้งในตัวเมืองและบริการภาครัฐกำลังอยู่ระหว่างการปฏิรูปดิจิทัลอย่างค่อยเป็นค่อยไป 

อีกหนึ่งเหตุผลนั้นก็คือ เรื่องของค่าใช้จ่าย ศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กนั้นต้องการเงินทุนที่น้อยกว่าและเปิดโอกาสให้บุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรรายย่อยสามารถเร่งเพิ่มกำลังอุปทานขึ้นได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองกำลังของอุปสงค์ที่พุ่งสูงขึ้น นี่เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานอย่างรวดเร็วในด้านต่าง ๆ เช่น ในภาคการเกษตร ซึ่งยังคงเป็นภาคเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ตัวอย่างเช่นในออสเตรเลีย บริษัทศูนย์ข้อมูล Connected Farms กำลังสร้างศูนย์ข้อมูลเอดจ์เพื่อให้บริการในรัฐควีนส์แลนด์เพื่อมอบการจัดการข้อมูลที่ดียิ่งขึ้นสำหรับเกษตรกร ค่าใช้จ่าย: 541,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (368,231.52 ยูโร) 

ในทางกลับกัน ศูนย์ข้อมูลระดับไฮเปอร์สเกลนั้นต้องการเงินทุนปริมาณมหาศาล ซึ่งศูนย์ข้อมูลไฮเปอร์สเกลขนาด 150 เมกะวัตต์ของ Meta ในสิงคโปร์นั้นใช้เงินทุนในการก่อสร้างสูงถึงเกือบ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ 

 

สร้างความได้เปรียบให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ความเร็วในการลงทุนกับการประมวลผลแบบเอดจ์นี้กำลังเพิ่มสูงขึ้น โดยผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลกำลังหมายตาโอกาสในมาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย 

เมื่อเดือนตุลาคม 2021 ทาง PT Ekagrata Data Gemilang ได้เปิดศูนย์ข้อมูลเอดจ์ขึ้นในจาการ์ตาเพื่อสนับสนุนการใช้งาน 5G 

เช่นเดียวกับ Edge Center ก็ได้สร้างศูนย์ข้อมูลเอดจ์ขึ้นในกัวลาลัมเปอร์ และกำลังพัฒนาอีกสองศูนย์ที่ยะโฮร์ และปีนัง บริษัทสัญชาติออสเตรเลียแห่งนี้ยังได้พัฒนาศูนย์ข้อมูลเอดจ์ในนครโฮจิมินห์และกำลังสร้างอีกหนึ่งศูนย์ขึ้นที่ฮานอยตามโครงการปฏิรูปดิจิทัลแห่งชาติของเวียดนาม ศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กมีเป้าหมายที่จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจากตลาดในส่วนที่ยังขาดการดูแล 

แต่นอกจากนั้นแล้ว การลงทุนเหล่านี้ยังแปรไปเป็นผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมในภูมิภาคอีกด้วย บริษัทอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีนอย่าง Alibaba มีเป้าหมายที่จะลงทุนพัฒนาศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคเป็นมูลค่ารวมถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในเวลาสามปี นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะอบรมทักษะดิจิทัลให้กับคนอีก 1 ล้านคนเพื่อการสนับสนุนสตาร์ทอัพ 100,000 ราย 

ขณะที่คู่แข่งอย่าง Huawei นั้นก็มีแผนการใหญ่ที่จะฝึกอบรมวิศวกรและบุคลากรอาชีพด้านเทคโนโลยี 100,000 คน พร้อมกับสนับสนุนสตาร์ทอัพถึง 500 รายเฉพาะในอินโดนีเซียเพียงอย่างเดียว 

เมื่อเอดจ์เริ่มขยับจากขอบมาสู่ใจกลางกระแสความเป็นไปมากขึ้น เราก็คาดหวังได้ว่าศูนย์ข้อมูลเอดจ์จะเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากยิ่งขึ้น เพราะสุดท้ายแล้วเมื่อพูดถึงความพยายามที่มีเวลาแฝงน้อยแล้ว ขนาดที่เล็กกว่านั้นคือความงดงาม