การทำให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ของคุณบรรจบครบวงจร
ผู้ซื้อในปัจจุบันให้ความสนใจมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการซื้อของพวกเขา และคาดหวังว่าบริษัทที่พวกเขาสนับสนุนก็ทำเช่นเดียวกัน จากOnline Purchasing Behavior Report 2024 by DHL (รายงานพฤติกรรมการซื้อออนไลน์ 2024) พบว่าร้อยละ 59 ของลูกค้าทั่วโลกให้ความสำคัญกับความความยั่งยืนในระดับ “มาก” หรือ “ค่อนข้างมาก”
บ่อยครั้งที่การปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองเกินไปสำหรับการนำไปใช้ในธุรกิจ ทั้งนี้ก็เนื่องจากการปฏิบัติตามแนวทางเพื่อความยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องหาระบบที่เหมาะสมที่จะมาทดแทนการปฏิบัติในปัจจุบัน การจัดการความเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาและความพยายาม และผลกำไรอาจลดลงในช่วงแรก
แต่ในโลกยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม การเน้นไปที่ผลกำไรนั้นสามารถทำได้ไปพร้อมๆ กับการดูแลโลก การทบทวนวิธีปฏิบัติแบบดั้งเดิมและการรับเอานวัตกรรมการปฏิบัติใหม่ๆ มาใช้ จะทำให้บริษัทสามารถสร้างความสมดุลระหว่างการทำไรและความยั่งยืนได้ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจและความภักดีของลูกค้าในระยะยาว
การทำให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ของคุณบรรจบครบวงจร
ในเศรษฐกิจเชิงเส้นยุคปัจจุบันนี้ ทรัพยากรจะถูกสกัดออกมาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าต่างๆ และก็จะถูกกำจัดทิ้งเป็นขยะไปในที่สุด การรักษาเศรษฐกิจหมุนเวียนในการปฏิบัติงานจะช่วยให้วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์หมุนเวียนอยู่ในวงจรให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการลดของเสีย การยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ และการสร้างทรัพยากรขึ้นใหม่
ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นเริ่มตั้งแต่ตัวผลิตภัณฑ์ บริษัทสามารถลงทุนในด้านวัตถุดิบการผลิตคุณภาพสูง การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่ยาวนาน การลดความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนบ่อยๆ และการลดของเสีย
และธุรกิจยังสามารถปรับใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตของพวกเขาได้อีกเช่นกัน แม้ว่าการลงทุนเริ่มแรกในวัสดุที่ยั่งยืนอาจจะสูงกว่า แต่การประหยัดต้นทุนในระยะยาวจะเกิดขึ้นจากของเสียที่ลดลง การใช้พลังงานที่ลดลง และค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ลดลง
แบรนด์แฟชั่นเช่น Patagonia และ Stella McCartney ได้นำแนวทางนี้ไปใช้โดยการให้ความสำคัญกับวัสดุที่ยั่งยืนและจัดหามาอย่างมีจริยธรรม ยกตัวอย่างเช่น Stella McCartney ได้หันไปใช้วัสดุที่ยั่งยืนเช่นผ้าฝ้ายออร์แกนิกและรีไซเคิล โพลีเอสเตอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ระดับไฮเอนด์สามารถมีได้ทั้งความหรูหราและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
เสนอโครงการซ่อมบำรุง ซื้อคืน
วิธีการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพอีกทางหนึ่งก็คือการทำให้วัสดุและผลิตภัณฑ์อยู่ในวงจรให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการ ซ่อมบำรุง การนำกลับมาใช้ใหม่ การปรับปรุงใหม่ การผลิตซ้ำ การรีไซเคิล และการนำไปทำปุ๋ยหมัก
ตัวอย่างเช่น Rolls-Royce มีโครงการซ่อมบำรุงและบริการฟื้นฟูรถยนต์สำหรับรถยนต์ของพวกเขา ตามสถิติจากมูลนิธิ Ellen MacArthur Foundation พบว่าการยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ไปอีกเก้าเดือนจะลดความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรใหม่ ช่วยลดรอยเท้าคาร์บอน น้ำ และของเสียของผลิตภัณฑ์ได้ร้อยละ 20 ถึง 30.
หากลูกค้าไม่ต้องการจะเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ต่อไป ก็ยังสามารถใช้โครงการซื้อคืน แลกเปลี่ยน หรืออัพไซเคิลสินค้าเพื่อเก็บรวบรวมและรีไซเคิลสินค้าเก่า ผู้ซื้อสามารถคืนสินค้าเก่าเพื่อแลกเงินหรือเครดิตร้านค้าได้ ผู้ค้าปลีกสามารถทำความสะอาดสินค้าแล้วนำไปขายใหม่ในร้านค้าหรือร้านค้าออนไลน์ในราคาที่ลดลง
มีผู้ค้าปลีกบางรายที่ส่งเสริมให้ลูกค้านำสินค้ามือสองสภาพดีมาคืน โดยเสนอการคืนเงินบางส่วนจากราคาเต็มของสินค้า ตัวอย่างเช่นร้านค้าหนึ่งซื้อโทรศัพท์มูลค่า €3,000 ของลูกค้าคืนที่ราคาปรับตามสัดส่วนที่ €1,000 และหักค่าความสึกหรอจากการใช้งาน บริษัทยังสามารถส่งเสริมให้ลูกค้าคืนสินค้าที่ใช้แล้วโดยการเสนอโครงการแลกเปลี่ยนสินค้า
โครงการริเริ่มเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมรีคอมเมิร์ซ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าถึง US$84 พันล้าน (€75 พันล้าน) ซึ่งจะเป็นมูลค่าเกือบสองเท่าของแฟชั่นราคาประหยัดภายในปี 2030
ความยั่งยืนมีความหมายเดียวกันกับการมีอายุยืน
การหมุนเวียนในวงจรนั้นมีเป้าหมายในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ การศึกษาของ McKinsey กับ Ellen MacArthur Foundation ได้ชี้ให้เห็นว่าแนวทางแบบยั่งยืนในการให้บริการนั้นอาจส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของยุโรปได้ถึงร้อยละสามภายในปี 2030 ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนได้ถึง €600 พันล้านต่อปี และมากกว่า €1.8 แสนล้านในด้านประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ในที่สุดแล้ว การปฏิบัติตามแนวทางสีเขียวนั้นยังไม่เพียงพอ ธุรกิจจะต้องสื่อสารกับลูกค้าเกี่ยวกับแนวปฏิบัตินี้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถทำได้โดยการเน้นถึงขั้นตอนต่างๆ ในการบูรณาการแนวทางการปฏิบัติสีเขียวในบริการของพวกเขา DHL's Online Purchasing Behavior Report 2024 (รายงานพฤติกรรมการซื้อออนไลน์ของ DHL ปี 2024) ชี้ให้เห็นว่าร้อยละ 63 ของผู้ซื้อสินค้าจากต่างประเทศนั้นต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนจากการซื้อสินค้าออนไลน์ของพวกเขา ส่วนการสื่อสารกับผู้บริโภคในเชิงรุก DHL จะแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการลดรอยเท้าคาร์บอนของพวกเขาในการจัดส่งสินค้าแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแต่ละครั้ง
เนื่องจากผู้บริโภคมีความตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พวกเขามีแนวโน้มที่จะสนับสนุนธุรกิจที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในด้านความยั่งยืน ในขณะที่แนวโน้มนี้ยังคงเติบโตต่อไป มีความเป็นไปได้ว่าความยั่งยืนของธุรกิจจะเติบโตไปพร้อมกับความยั่งยืนในการปฏิบัติงานของพวกเขา การหันมาใช้แนวทางปฏิบัติสีเขียวจะทำให้บริษัทสามารถดึงดูดลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังภาพลักษณ์ที่ดีต่อสาธารณชน และส่งเสริมความนิยมชอบภายในชุมชนได้
คุ้มค่าที่จะอ่านเช่นกัน