การขยายโอกาสทางการค้าสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในโลกหลังการระบาด
การค้า ‘เอเชียเพื่อเอเชีย’ จะยังคงพู่งสูงขึ้น
ผลวิจัยใหม่ยังเน้นอีกด้วยว่า ความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคที่หยั่งรากลึกขึ้นนั้นช่วยเสริมความสามารถในการฟื้นตัวให้กับห่วงโซมูลค่าและเครือข่ายการผลิตของเอเชียแปซิฟิกได้อย่างไรบ้าง
ตัวอย่างเช่น ADB พบว่าการค้าภายในภูมิภาคเติบโตขึ้น 31.2 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี 2021 เพียงปีเดียว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในสามทศวรรษ การเปลี่ยนแปลงสู่กระแสการค้าแบบ ‘เอเชียเพื่อเอเชีย’ นี้ส่วนหนึ่งได้รับแรงขับเคลื่อนโดยผู้ผลิตที่แสวงหาวิธีลดทอนความเสี่ยงและเพิ่มความต้านทานการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกเพิ่มเติม
“เมื่อธุรกิจมองหาวิธีแก้ไขความผันผวนของห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการฟื้นตัวที่มากขึ้นและการออกแบบเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น ตอบสนองได้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในภูมิภาคจึงกลายเป็นเรื่องที่ได้รับความใส่ใจให้ความสำคัญมากขึ้น แนวทาง ‘เอเชียเพื่อเอเชีย’ ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นนี้ได้สร้างเวทีให้การเติบโตของเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค” คุณทิม ฟอสเตอร์ หัวหน้าที่ปรึกษาด้านห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ประจำเอเชียแปซิฟิกของ Cushman & Wakefield กล่าวกับ Bangkok Post
คาดกันว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคซึ่งลงนามระหว่าง 15 ประเทศเอเชียแปซิฟิกในปี 2020 นั้นจะยิ่งช่วยกระชับความร่วมมือในภูมิภาคให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
การล็อกดาวน์ที่กำลังดำเนินไปในประเทศจีนนั้นยังหมายถึงว่าส่วนอื่น ๆ ในเอเชียแปซิฟิกจะได้รับผลประโยชน์จากการที่บริษัททั่วโลกเริ่มเปลี่ยนจากการผลิตที่มีจีนเป็นศูนย์กลางมาใช้กลยุทธ์การจัดหา ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาด ศูนย์กลางการผลิตที่กำลังเติบโตอย่างในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม ซึ่งเป็นทางเลือกโดยธรรมชาติเนื่องจากความใกล้เคียงทางภูมิศาสตร์
บริษัทต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะยังคงแสวงหาความสามารถในการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทานผ่านการแบ่งภูมิภาคและการ กระจายความหลากหลาย ผลการสำรวจผู้นำด้านธุรกิจโลกในเอเชียแปซิฟิกของ Baker McKenzie พบว่า 73 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจกำลังเพิ่มความหลากหลายให้กับห่วงโซ่อุปทานในทางภูมิศาสตร์ และ 42 เปอร์เซ็นต์ใช้งานกลยุทธ์ ‘China Plus One’
คอมเมิร์ซและอิเล็กทรอนิกส์ช่วยนำทาง
ในฐานะอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่สุดของภูมิภาค การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้เกิดกระแสยอดขายอีคอมเมิร์ซในเอเชียแปซิฟิกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เมื่อผู้ซื้อปลีกซื้อสินค้าออนไลน์เพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะสัมผัสกันโดยตรง เมื่อประเมินสถานการณ์แล้ว ภาพรวมการเติบโตของอีคอมเมิร์ซยังคงแข็งแรงดี จากประมาณการหนึ่งของ Euromonitor International คาดการณ์ว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นสองเท่าในปี 2025 โดยมีมูลค่าถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาคเศรษฐกิจนี้ได้รับแรงขับเคลื่อนจากฐานการเติบโตที่รวดเร็วของผู้บริโภคและผู้ค้าดิจิทัล บริการส่งอาหารที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งรวมถึงการเชื่อมต่อด้วยโทรศัพท์มือถือด้วย จากผลวิจัยของ Google, Temasek และ Bain ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้ภูมิภาคดังกล่าวมีมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030
นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นภูมิภาคการส่งออกที่สำคัญสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำในระดับโลกด้านการผลิตแผงวงจร ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ และฮาร์ดไดรฟ์
ผลกระทบจากภาวะการระบาดในระดับภูมิภาคนั้นสาหัสมากในช่วงแรก ผลวิจัยจาก Fortune ชี้ตัวอย่างว่า ตลาดเซมิคอนดักเตอร์นั้นถดถอยลง 0.20 เปอร์เซ็นต์ในปี 2020 แต่ด้วยความต้องการชิปทั่วโลกยังคงสูงอยู่ ผลวิจัยจึงยังชี้ด้วยเช่นกันว่า การชะงักงันที่เกี่ยวข้องกับการระบาดนั้นไม่น่าจะสามารถลดทอนศักยภาพในระยะยาวของภาคอุตสาหกรรมนี้ลงได้ Fortune ยังคาดการณ์อีกว่า ตลาดเซมิคอนดักเตอร์ในอาเซียนจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งจาก 2.764 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 เป็น 4.188 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2028 โดยมีอัตราการเติบโตรายปีแบบผสม 6.1 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างช่วงการคาดการณ์
โอกาสการเติบโตทางการค้าใหม่กำลังเกิดขึ้น
การเติบโตด้านอื่น ๆ ได้แก่ สินค้าและบริการที่มีระดับคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังจะได้ผลประโยชน์จากการที่ธุรกิจและนักลงทุนเริ่มตั้งเป้าหมายเพื่อการฟื้นตัวและความยั่งยืนในระยะยาวมากขึ้น สิงคโปร์นั้นได้วางตำแหน่งตัวเองเพื่อจะเป็นผู้นำในด้านนี้แล้ว โดยต่อยอดจากบทบาทเดิมของตนที่เป็นศูนย์กลางการเงินสีเขียว หรือ Green Finance และบริการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก
ดังที่ DHL Trade Growth Atlas 2022 ชี้ว่า การเติบโตทางการค้าในด้านดังกล่าวสะท้อนแนวโน้มเบื้องลึกว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเป็นที่รู้จักในด้านคุณภาพของสินค้าที่ผลิต ไม่ใช่เพียงแต่ด้านปริมาณ ปัจจัยนี้มีแนวโน้มที่จะยังดำเนินต่อไปเมื่อเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในบางด้านอย่างเช่น การเชื่อมต่อดิจิทัลและนวัตกรรม
เพื่อจะสนับสนุนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ รัฐบาลต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะต้องตอบโต้แรงต้านอย่างอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ของโลกสูงขึ้น
“แม้จะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นในเหตุการณ์โลก แต่ความสามารถที่จะเจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าของภูมิภาคยังคงชัดเจนอยู่เมื่อประเทศต่าง ๆ เริ่มฟื้นตัวจากภาวะการระบาด” คุณลี กล่าวอย่างมีความหวัง
คุ้มค่าที่จะอ่านเช่นกัน